ประวัติความเป็นมา
สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (THAI DIRECT SALE INDUSTRIAL ASSOCIATION : TDIA) จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2544 เปิดดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 21 ปีด้วยความมั่นคง ขับเคลื่อนด้วย “วิสัยทัศน์” ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและปลูกฝังจิตวิญญาณ การเป็นผู้ประกอบการและนักธุรกิจขายตรงที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค พร้อมสนับสนุนบริษัทขายตรงและนักธุรกิจขายตรงที่มีคุณธรรมและจริยธรรมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเดินหน้าทำธุรกิจบนความถูกต้อง ร่วมกันสร้างความดีตอบแทนสังคม อันจะนำไปสู่ภาพลักษณ์ที่ดีของวงการธุรกิจขายตรงโดยรวม สร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
รู้จักกับเรา “TDIA”
ฟันเฟืองขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขายตรงไทย
เครือข่ายพันธมิตรที่พร้อมช่วยธุรกิจคุณ
สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (THAI DIRECT SALE INDUSTRIAL ASSOCIATION : TDIA) ก่อตั้งขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 21 ปี และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขายตรงไทยให้เติบโตมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยวิสัยทัศน์ ที่ต้องการส่งเสริม ปลูกฝังจิตวิญญาณ การเป็นผู้ประกอบการ และนักธุรกิจขายตรงที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค สู่การยกระดับภาพลักษณ์ที่ดีของวงการธุรกิจขายตรงไทย
“จุดเด่น” ที่แตกต่างของ “สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย” คือการผนึกกำลังจากหลากหลายภาคส่วนทั้ง ภาครัฐและเอกชน ที่สามารถช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเกิดการเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ศักยภาพของสมาชิกสมาคมฯ เป็นการรวมตัวกันของผู้บริหารจากหลากหลายองค์กรธุรกิจมากกว่า 20 บริษัท (และเปิดรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ซึ่งหลายท่านมีประสบการณ์ในวงการธุรกิจมาหลายทศวรรษ ที่พร้อมมาร่วมกันแชร์องค์ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจ เช่น ธุรกิจความงาม ธุรกิจอาหารเสริม โรงงานผู้ผลิตสินค้า และอุตสาหกรรมอื่นอีกมากมาย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะธุรกิจขายตรง จึงพร้อมจับมือและร่วมกันพัฒนาธุรกิจของสมาชิกให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความแตกต่างอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือกับทางภาครัฐ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ช่วยแบ่งเบาภาครัฐในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สนใจ สานต่อในการสร้างความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ถูกต้องไปสู่ภาคธุรกิจและประชาชน
แน่นอนว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ สมาชิกทุกคน ผู้ประกอบการ รายเล็ก รายใหญ่ นักธุรกิจขายตรง ผู้บริโภค ประชาชน หรือ แม้แต่ภาครัฐ
การเดินทางตลอด 21 ปีของสมาคมฯ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน โดยในปี 2565 นี้จะเป็นการต่อยอดอนาคตอุตสาหกรรมขายตรงไทยอย่างมั่นคง บนแนวทางพันธกิจ 3S คือ
SUSTAINABLE มุ่งมั่นตอกย้ำการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของสมาคมฯ
SHARING มุ่งเน้นการแบ่งปันข้อมูล ข่าวสารที่ดี และเป็นประโยชน์
SERVICE อาสาเป็นศูนย์กลางความช่วยเหลือและประสานงานให้กับทุกฝ่าย ทั้งสมาชิกสมาคมฯ ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป
โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับ Trend & Digital กลยุทธ์การปรับตัวในโลกปัจจุบันให้กับสมาชิกสมาคม นำพาองค์กรสู่การเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้” ของทุกภาคส่วน เพื่อให้ทุกคนสร้างอาชีพที่มั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
หากท่านกำลังมองหาพันธมิตรที่จะช่วยให้ธุรกิจของท่านเติบโตไปข้างหน้า เรามั่นใจว่า TDIA คือคำตอบที่ดีที่สุด
#TDIA #สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย #21ปีTDIA #ขายตรง #สุขภาพและความงาม #ธุรกิจ #startup #sme
วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก
สานต่อวิสัยทัศน์เดิมของคณะกรรมการผู้ก่อตั้ง พร้อมมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยกลยุทธ์ “รีแบรนด์ก้าวสู่ความมั่นคง” มีเป้าหมายเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมขายตรงและตอกย้ำความมั่นคงของสมาคมฯ สร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทสมาชิก ภาครัฐและประชาชน“Core Values” หรือ “ค่านิยมหลัก” ของสมาคมฯ ได้แก่
T : TEAM WORK
ความสามัคคีของการทำงาน
บนพื้นฐานความอบอุ่น
เหมือนคนในครอบครัว
D : DEVELOPMENT
การพัฒนาความรู้และ
เทคโนโลยีใหม่ในสมาคมฯ
และสมาชิกสมาคมฯ
I : INTEGRATION
เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการ
ความรู้ร่วมกันของภาครัฐ
สมาชิกสมาคมฯ นักธุรกิจและผู้บริโภค
A : ACCOUNTANT
การดำเนินธุรกิจ
บนความรับผิดชอบและ
การช่วยเหลือสังคม
แผนดำเนินงาน “พันธกิจ 3S”
SUSTAINABLE
ตอกย้ำการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืนของสมาคมฯ
SHARING
มุ่งเน้นการแบ่งปันข้อมูลและ
ข่าวสารที่ดีในกลุ่มบริษัท
สมาชิกสมาคมฯ และผู้บริโภค
SERVICE
เป็นศูนย์กลางความช่วยเหลือและประสานงาน
ให้กับทุกฝ่าย ทั้งสมาชิกสมาคมฯ ภาครัฐ
และประชาชนทั่วไปเพื่อให้บรรลุพันธกิจที่วางไว้
โดยมี “Roadmap”ในการทำงาน
อยู่บน “7 ทิศทางสำคัญ”
7 ทิศทางสำคัญ
1. เน้น Create Branding TDIA มุ่งสร้างการรับรู้แบรนด์ของสมาคมให้มากขึ้น
2. ถ่ายทอดเจตนารมณ์ของสมาคม Core Value (Family & Warmth ความอบอุ่น) ที่มีความอบอุ่นความสามัคคีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไปสู่บริษัทฯ สมาชิกใหม่
3. สร้างเครือข่ายทางธุรกิจใหม่ Business Matching ด้วยการเปิดรับสมาชิกใหม่จากกลุ่มธุรกิจอื่นเข้าสู่สมาคมฯ จากเดิมมีอยู่ประมาณกว่า 20 บริษัทให้เพิ่มขึ้นเท่าตัวในอนาคต
4. การทำ CSR กิจกรรมช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง
5. Learning & Growth เดินหน้าเป็นศูนย์กลาง ในการให้ความรู้เกี่ยวกับ Trend & Digital กลยุทธ์การปรับตัวในโลกปัจจุบันให้กับสมาชิกสมาคม
6. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบออนไลน์ ของสมาคมฯ ให้ทันสมัยและสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน
7. สานต่องานของสมาคมฯ ที่ทำอยู่ในอดีตให้เดินหน้าได้ต่อเนื่องและพัฒนาส่วนอื่นเพิ่มขึ้น
คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ วาระปี 2564 - 2566 มีรายชื่อคณะกรรมการบริหาร ดังนี้